การสร้างภาพเคลื่อนไหวจากอวกาศ
Earth Studio ต้องการให้เรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องสเกล ซึ่งตามที่คาดไว้ นี่จะทำให้เกิดปัญหาบางอย่างในบริบทของภาพเคลื่อนไหว เราจัดการกับปัญหาเหล่านี้ด้วยฟีเจอร์ที่ชื่อการปรับลอการิทึม
ภาพรวม
กล้องซึ่งเคลื่อนที่ไปรอบๆ โลกด้วยอัตราเร็วคงที่ จะยิ่งเคลื่อนที่เร็วขึ้นมากเมื่อเข้าใกล้โลกมากขึ้น นี่คือปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์ จุดอ้างอิงบนโลกของเราดูจะต้องปรับสเกลขึ้นอย่างมากขณะที่เราเข้าใกล้พื้นผิวโลก สมองของเรารับรู้เรื่องนี้จนทึกทักเอาว่าเรากำลังเคลื่อนที่เร็วขึ้น
ในภาพเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ นี่ก็เป็นปัญหาหนึ่ง
Earth Studio นำเสนอฟีเจอร์ทดสอบที่ชื่อการปรับลอการิทึมเพื่อจัดการกับเอฟเฟกต์ที่เพิ่มความเร็วขึ้นนี้ เมื่อเปิดใช้ การปรับลอการิทึมจะเคลื่อนกล้องเร็วขึ้นในอวกาศ และช้าลงเมื่อเข้าใกล้โลก เราเรียกฟีเจอร์นี้ว่าลอการิทึม เนื่องจาก Earth Studio ใช้สูตรที่ใกล้เคียงกับลอการิทึมเพื่อคำนวณการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
การเคลื่อนไหวที่ได้จะชดเชยความบกพร่องทางการรับรู้ และปรากฏเป็นเชิงเส้น/ต่อเนื่องโดยสมบูรณ์
การปรับลอการิทึมมีประสิทธิภาพอย่างมากต่อการเคลื่อนที่ที่เรียบง่าย การใช้งานขั้นสูงเพิ่มเติมจะแสดงจุดบกพร่องและการพิจารณาบางอย่าง ซึ่งจะกล่าวถึงที่ด้านล่าง
การเปิดใช้การปรับลอการิทึม
ในการฉายภาพที่เริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว Earth Studio จะตรวจจับโดยอัตโนมัติเมื่อจำเป็นต้องใช้การปรับลอการิทึม และเปิดใช้ตามที่จำเป็น สำหรับการฉายภาพอื่นๆ คุณจะต้องเปิดใช้ฟีเจอร์นี้ด้วยตนเองใน ภาพเคลื่อนไหว > ขั้นสูง
ดังที่อธิบายไว้ด้านบน การปรับลอการิทึมเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวผ่านการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงจำนวนมาก เมื่อวางแผนการเคลื่อนที่ดังกล่าว โปรดเปิดใช้การปรับลอการิทึมก่อนที่คุณจะเริ่มสร้างภาพเคลื่อนไหว ด้วยวิธีนี้ คุณจะทราบว่าแอตทริบิวต์ได้รับผลกระทบอย่างไรได้ง่ายขึ้น และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องได้
การพิจารณาละติจูด/ลองจิจูด
ระดับความสูงไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวเมื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวสเกลขนาดใหญ่ที่รับรู้ได้อย่างลื่นไหล ภาพ "เชิงเส้น" ที่เคลื่อนลงมาหาโลกยังแสดงถึงขนาดของการเปลี่ยนแปลงด้านข้าง (ละติจูดและลองจิจูด) อีกด้วย
ลองคิดถึงการเคลื่อนที่หลายพันกิโลเมตรในวินาทีเดียวเหนือโลก เราไม่ได้รู้สึกว่าเร็วเกินไปหากอยู่ในอวกาศ แต่ถ้าเราอยู่ห่างจากพื้นโลกแค่ไม่กี่ร้อยเมตรล่ะ นั่นคงไม่ใช่ความรู้สึกที่น่าลองสัมผัสนัก
นี่เป็นสาเหตุที่มีการลิงก์แอตทริบิวต์ตำแหน่งใน Earth Studio นั่นก็เพราะแอตทริบิวต์นี้มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพิงกันทั้งหมด เมื่อใช้การปรับลอการิทึม Earth Studio จะพบความแตกต่างในการปรับก่อนและหลังของค่าระดับความสูง และใช้ความแตกต่างนี้ในการปรับเส้นโค้งละติจูดและลองจิจูด
การปรับเปลี่ยนจะได้รับการจัดการแบบทีละกลุ่ม ขณะที่ระดับความสูงจะได้รับการปรับเสมอตราบใดที่เปิดใช้การปรับลอการิทึม แต่ละติจูดและลองจิจูดอาจไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญเมื่อใช้งานเครื่องมือแก้ไขเส้นโค้ง หรือภาพเคลื่อนไหวหลายคีย์เฟรม
เครื่องมือแก้ไขเส้นโค้ง
เป้าหมายของการปรับลอการิทึมคือการให้ได้การเคลื่อนไหวเชิงเส้นที่รับรู้ได้ แต่ค่าของตำแหน่งที่จำเป็นต่อเรื่องนี้นั้นส่งผลให้เกิดเส้นโค้งแบบไม่ใช่เชิงเส้น หากเส้นโค้งเหล่านี้แสดงดังที่แสดงในเครื่องมือแก้ไข คุณะปรับการค่อยๆ เปลี่ยนดังเช่นที่จะทำในการเคลื่อนไหวมาตรฐานไม่ได้
เพื่อทำให้เครื่องมือแก้ไขเส้นโค้งใช้งานได้ Earth Studio จะเปลี่ยนวิธีแสดงและปรับเปลี่ยนเส้นโค้งของตำแหน่งในเครื่องมือแก้ไขเส้นโค้ง เมื่อมีการใช้การปรับลอการิทึม
ระดับความสูง
ระดับความสูงเป็นแอตทริบิวต์ที่ปรับเปลี่ยนมากที่สุด จนทำให้ต้องแสดงในสเกลกราฟลอการิทึมในเครื่องมือแก้ไขเส้นโค้ง ซึ่งจะแสดงถึงการจัดการกับการปรับเปลี่ยนลอการิทึมในค่าของระดับความสูง
ในกราฟที่มีสเกลแบบลอการิทึม พิกเซลที่อยู่ใกล้กับด้านบนของกราฟจะมีผลกับระยะทางมากกว่าพิกเซลที่อยู่ด้านล่างของกราฟ ซึ่งแสดงอยู่ในการวัดผลทางด้านซ้ายของกราฟ
เส้นโค้งแบบเชิงเส้นในมุมมองนี้แสดงถึงภาพเคลื่อนไหวที่ให้ "ความรู้สึก" เป็นเส้นโค้ง คุณจะเพิ่มและปรับแฮนเดิลการค่อยๆ เปลี่ยนได้ตามปกติ และภาพเคลื่อนไหวจะปรากฏเพื่อแสดงเส้นโค้งอย่างถูกต้อง
ละติจูดและลองจิจูด
เส้นโค้งละติจูดและลองจิจูดจะแสดงด้วยการปรับสเกลกราฟมาตรฐาน แต่จะใช้งานได้ค่อนข้างซับซ้อนขึ้นเมื่อเปิดการปรับลอการิทึม
เมื่อคุณดูแอตทริบิวต์ในเครื่องมือแก้ไขเส้นโค้ง จะสังเกตเห็นว่าบางกลุ่มแสดงเป็นเส้นประ ซึ่งแสดงถึงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการปรับลอการิทึม
กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจะแสดงในกราฟอย่างถูกต้อง โดยจุดใดก็ตามบนเส้นโค้งจะแสดงค่าจริงที่จุดนั้นในภาพเคลื่อนไหว หลังจากที่ได้รับการปรับ แต่เนื่องจากการปรับจะใช้บนจุดสูงสุดของเส้นโค้งที่มีอยู่ แฮนเดิลการค่อยๆ เปลี่ยนจึง "ไม่ทำงาน" โดยแฮนเดิลจะส่งผลต่อรูปร่างของกราฟ แต่จะไม่ส่งผลต่อแบบ 1 ต่อ 1 ดังที่เป็นในการเคลื่อนไหวปกติ
ในภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 คีย์เฟรม จะไม่เกิดปัญหาที่สังเกตเห็นได้ แต่ในภาพเคลื่อนไหวที่มี 3 คีย์เฟรมขึ้นไป คุณอาจพบปัญหา
การจัดการกับภาพเคลื่อนไหวหลายคีย์เฟรม
การปรับลอการิทึมอาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อใช้ในภาพเคลื่อนไหวที่มีมากกว่า 2 คีย์เฟรม เช่น การโฉบลงจากอวกาศที่เปลี่ยนเป็นวิถีโคจรรอบๆ สิ่งปลูกสร้าง ในกรณีเหล่านี้ คุณอาจสังเกตเห็นการหยุดหรือสั่นที่ไม่ต้องการในเส้นทางภาพเคลื่อนไหว
หากพบปัญหา วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือการซูมเข้าไปในพื้นที่ที่เกิดปัญหาในเครื่องมือแก้ไขเส้นโค้ง และลองปรับแฮนเดิลการค่อยๆ เปลี่ยนจนกว่าเส้นโค้งจะปรากฏอย่างลื่นไหล การสั่นในเส้นโค้ง เช่นเมื่อเส้นโค้งเข้าสู่คีย์เฟรมที่มุมต่างจากที่ออก จะทำให้ภาพเคลื่อนไหวเกิดอาการกระตุก
เรากำลังหาวิธีปรับปรุงการกำหนดคีย์เฟรมภาพเคลื่อนไหวสเกลขนาดใหญ่เพื่อทำให้ฟีเจอร์นี้เชื่อถือได้มากขึ้นต่อไป